ReadyPlanet.com
dot dot
dot
วัด ที่อยู่ และธรรมะของ ครูบาอาจารย์ต่างๆ
dot
bulletหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
bulletครูบาศรีวิชัย
bulletหลวงพ่อครูบาวงศ์
bulletวัดท่าซุง(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
bulletพุทธทาส ภิกฺขุ
bulletหลวงพ่อชา สุภัทโท
bulletหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
bulletหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
bulletพระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป
dot
พระบรมราโชวาท ร.๙
dot
bulletพระบรมราโชวาท
bulletส.ค.ส. พระราชทาน 2530-2555
dot
วัดพระพุทธบาทตะเมาะ
dot
bulletประวัติวัดพระพุทธบาทตะเมาะ
bulletประวัติพระมหานพดล สิริวฑฺฒโน
dot
ผลงานของมหานพดล สิริวฑฺฒโน
dot
bulletวาทะพระอริยเจ้า(หลวงปู่บุดดา ถาวโร)
bulletกลอนสดจากใจประจำวัน
bulletวาทะธรรมพระมหานพดล สิริวฑฺฒโน
bulletพระธรรมเทศนา พระมหานพดล สิริวฑฺฒโน
bulletแนวทางปฏิบัติธรรมโดยย่อ พระมหานพดล รวบรวม
dot
ธรรมที่น่าสนใจ
dot
bulletธรรมอันควรพิจารณา
bulletรวมวิธีการทำสมาธิของครูบาอาจารย์ต่างๆ
bulletโมกขุบายวิธี
bulletเคล็ดปฏิบัติสมาธิหลวงปู่เหรียญ
bulletประโยชน์ของการทำสมาธิ
bulletโมเนยปฏิปทา
dot
รายการแสวงบุญ
dot
bullet แสวงบุญประเทศอินเดีย เนปาล ๑๑ - ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
dot
กิจกรรมต่าง ๆ
dot
bulletพิธียกยอดฉัตร เจดีย์หิน 3 ครูบา 18 ม.ค. 56
bulletแสงบุญ หลวงพระบาง และสิบสองปันนา 19-25 พ.ค. 55
bulletรูปภาพแสวงบุญ
dot
เชิญร่วมทำบุญ
dot
dot
สมุนไพรและการดูแลสุขภาพ
dot
bulletโคลนสมุนไพร ดูดสารพิษ บรรเทาอาการปวด
bulletโทษของ สเตอร์ลอย
bulletอาหาร 10 อย่าง ที่ไม่ควรกินมากเกินไป
dot
โครงการช่วยชาติ ของ สถาบันธรรมะเพื่อชีวิต
dot
bulletฮิวมัสกับสวนลำไย


พระบรมราโชวาท
แนวทางปฏิบัติธรรม
แสวงบุญประเทศอินเดีย
เต่ามงคล


ประวัติวัดพระพุทธบาทตะเมาะ

 

ประวัติวัดพระพุทธบาทตะเมาะ


ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (หลวงพ่อวงศ์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม เล่าให้ฟังว่าวัดพระพุทธบาทตะเมาะเป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีตกาลเนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์แห่งกัปนี้ ได้แก่พระพุทธเจ้ากกุสันโธ พระพุทธเจ้าโกนาคมนาคม พระพุทธเจ้ากัสปะ พระพุทธเจ้าสมณโคดมเคยเสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ และประทับรอยพระพุทธบาทไว้และเคยมีพุทธสาวกหลายองค์มาปฏิบัติและบรรลุธรรมที่สถานที่แห่งนี้

ภายในวัดยังมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หลายแห่งเช่น รอยพระบาทของพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์, แท่นหินที่พระพุทธเจ้าทั้ง ๔พระองค์ประทับไสยาสน์, รอยพระบาทของพระสาวกซึ่งเป็นพุทธอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้ากุสันโท,รอยพระบาทของพระฤๅษีที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ฯลฯ

ที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะแห่งนี้ เคยเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระฤาษี ๒ องค์ซึ่งต่อมาบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา และปฏิบัติธรรมจนบรรลุเป็นพระอรหันต์สถานที่นิพพานของท่านทั้งสองอยู่บนแท่นหินภายในบริเวณวัดพระสรีระของท่านทั้งสองยังไม่ได้ประชุมเพลิงพระอินทร์ได้อัญเชิญพระสรีระขององค์หนึ่งไปไว้บนยอดเขาตะเมาะส่วนอีกองค์หนึ่งไว้ที่ยอดเขาดอยเกิ้งเพื่อรอพระศรีอริยะเมตไตรยมาประชุมเพลิงด้วยพระองค์เองซึ่งบารมีของท่านทั้งสองยังคุ้มครองสถานที่แห่งนี้ให้ผู้มุ่งหวังปฏิบัติธรรมได้รับความสงบสุข (ชาวบ้านมักเห็นแสงไฟดวงกลมวิ่งไปมาระหว่างยอดเขาทั้งสองเสมอ)

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒ หลวงพ่อวงศ์ได้พาคณะศิษย์ไปที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะซึ่งขณะนั้นมีพระชาวต่างประเทศมาจำพรรษาอยู่มาก ท่านได้เล่าให้ฟังว่าครูบาอภิชัยขาวปีเป็นผู้สร้างวัดแห่งนี้ และจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ ตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ. ๒๔๖๗ รวมเวลาที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ ๓๓ ปี

หลวงพ่อวงศ์ได้บูรณะสถานที่สำคัญหลายแห่งภายในวัด เช่น มณฑป ๙ยอดครอบรอยพระพุทธบาท ฯลฯ และหลวงพ่อวงศ์ได้มาช่วยครูบาอภิชัยขาวปีก่อสร้างเป็นเวลา๕ ปี สิ่งก่อสร้างที่เหลือไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ชื่นชมอีกอย่างก็คือกำแพงซึ่งทำจากหินล้วนไม่มีการใช้ปูนแต่อย่างใด กำแพงดังกล่าวเป็นแนวยาว ๒ ชั้นแต่ละชั้นยาวประมาณ ๑๐๐ เมตร

นอกจากแนวกำแพงหินแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐หลวงพ่อวงศ์ยังได้สร้างมณฑปไว้ด้วย มณฑปนี้เป็นรูปทรงล้านนาและทำจากไม้ทั้งหลังซึ่งในปัจจุบันจะหาช่างทำได้ยากเพราะมณฑปทั้งหลังใช้การเข้าลิ่มไม้ทั้งสิ้น จะใช้น๊อตยึดก็เพียงไม่กี่ตัวท่านเล่าให้ฟังว่า มณฑปนี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ล้ำค่าของท่านเพราะต้องผจญกับมารหลายประการเนื่องจากเขตวัดพระพุทธบาทตะเมาะขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่ในขณะนั้นทางการจังหวัดเชียงใหม่เข้มงวดเรื่องป่าไม้มากแม้จะนำมาสร้างเป็นถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนาก็ยังเป็นการลำบาก

ในระหว่างที่หลวงพ่อวงศ์มาทำการก่อสร้างที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะอยู่นั้นท่านต้องพักผ่อนจำวัดที่ห้วยน้ำอุ่น (ปัจจุบันเป็นสถานปฏิบัติธรรม)ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดลำพูน และห่างจากวัดพระพุทธบาทตะเมาะ ๕ กิโลเมตรกิจวัตรประจำวันของท่าน เริ่มด้วยตื่นเวลา ๔ น. สวดมนต์ทำวัตรจนถึงเวลา ๕ น.เดินทางจากห้วยน้ำอุ่นไปวัดพระพุทธบาทตะเมาะ มาฉันภัตตาหารที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะจากนั้นนำคณะศรัทธาก่อสร้าง โดยท่านเป็นผู้ควบคุมเอง ในช่วงเที่ยงวันคณะศรัทธาจะพักรับประทานอาหาร ขณะนั้นท่านฉันมื้อเดียวท่านจึงใช้เวลาที่คณะศรัทธาพักรับประทานอาหารนี้ไปก่อหินทำถนนระหว่างห้วยน้ำอุ่นกับวัดพระพุทธบาทตะเมาะซึ่งคณะศรัทธาอีกคณะหนึ่งได้นำหินมากองเรียงไว้ เมื่อถึงเวลาช่วงบ่ายท่านก็จะกลับมาควบคุมการก่อสร้างที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะต่อไปจนกระทั่งพระอาทิตย์ตกดินไม่สามารถมองเห็นลายมือแล้วจึงเดินทางกลับไปพักที่ห้วยน้ำอุ่น ระหว่างทางที่เดินทางกลับก็จะช่วยกันยกหินที่คณะศรัทธาอีกคณะหนึ่งเรียงกองไว้ นำมาทำถนนระหว่างทางไปเรื่อยท่านจะกลับถึงห้วยน้ำอุ่นประมาณ ๒๒-๒๓ น.ทุกวัน จากนั้นท่านก็จะสรงน้ำสวดมนต์ไหว้พระ เจริญกรรมฐาน และจำวัดประมาณ ๒๔ น. ตื่นเวลา ๔ น. ท่านใช้เวลา ๓เดือน จึงก่อสร้างแล้วเสร็จนับเป็นความวิริยะอุตสาหะอย่างยิ่ง

เหตุที่ท่านไม่สามารถจำวัดและให้คณะศรัทธาพักที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะได้เนื่องจากขณะนั้นครูบาศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ซึ่งเจ้าหน้าที่และคณะสงฆ์ของจังหวัดเชียงใหม่มีความเข้มงวดในระหว่างที่กำลังก่อสร้างอยู่นั้นศิษย์ของครูบาอภิชัยขาวปีเกิดมีเรื่องกับเจ้าหน้าที่และคณะสงฆ์ของบ้านเมืองจนกระทั่งพระปันถูกจับสึกให้นุ่งขาวห่มขาวเป็นเหตุให้ครูบาอภิชัยขาวปีต้องย้ายจากวัดพระพุทธบาทตะเมาะไปอยู่ที่วัดพระธาตุห้าดวงและพระพุทธบาทผาหนาม ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอลี้ จังหวัดลำพูนเขตติดต่อกับวัดพระพุทธบาทตะเมาะ เมื่อสร้างมณฑปเสร็จแล้วก็ทำการฉลองกันอย่างรีบเร่งซึ่งเมื่อฉลองเสร็จหลวงพ่อวงศ์ก็ติดตามครูบาอภิชัยขาวปีไป

หลังจากเหตุการณ์สงบลงแล้วคณะศรัทธาเคยอาราธนานิมนต์ให้ครูบาอภิชัยขาวปีกลับไปที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะแต่ท่านก็ไม่รับนิมนต์ และบอกว่า "อีกหน่อยจะมีตุ๊ใต้มาอยู่กันเป๊อะเรอะ" (พระภาคใต้มาอยู่กันมาก ภาคใต้ตามความหมายของคนเหนือคือนับจากภาคกลางของประเทศไทยลงไป เป็นภาคใต้หมด) ส่วนหลวงพ่อครูบาวงศ์ท่านเคยบอกว่า "ถ้าไม่ได้อยู่ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนก็จะมาอยู่ที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะ"

ในอดีตวัดพระพุทธบาทตะเมาะเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมากโดยเฉพาะในสมัยที่ครูบาอภิชัยขาวปียังจำพรรษาอยู่ที่วัดมีศรัทธาญาติโยมทั้งชาวไทยและชาวเขากระเหรี่ยงมาร่วมกันทำบุญเป็นจำนวนมากมีการก่อวิหาร ที่พักของพระสงฆ์ และเสนาสนะอื่นๆภายในวัด นอกจากนี้ครูบาอภิชัยขาวปียังได้รับนิมนต์ไปก่อสร้างสาธารณประโยชน์ที่อื่นอีกมากต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ครูบาอภิชัยขาวปีไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอื่นซึ่งภายหลังจากที่ท่านจากวัดพระพุทธบาทตะเมาะไปแล้ว วัดก็ค่อยๆเสื่อมโทรมลงจนกลายเป็นวัดร้างในที่สุด

เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๕ พระอาจารย์นพดล สิริวฑฺฒโนได้ย้ายจากวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม มาจำพรรษาที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะซึ่งในช่วงแรกท่านได้สร้างเสนาสนะเท่าที่จำเป็นเพื่อการปฏิบัติธรรมต่อมาจึงสร้างเสนาสนะเพิ่มขึ้น ได้แก่ โรงครัว หอระฆัง แท็งก์น้ำศาลาปฏิบัติธรรมของญาติโยม และเมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๑จึงสร้างพระเจดีย์สามครูบาขึ้นมา เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ครูบาศรีวิชัย, ครูบาอภิชัยขาวปี และครูบาชัยยะวงศาพัฒนา







Copyright © 2010 All Rights Reserved.

วัดพระพุทธบาทตะเมาะ
ที่อยู่ :  เลขที่ ..๑๔๙ หมู่ ๙ ตำบล โปงทุ่ง   อำเภอ ดอยเต่า
จังหวัด :เชียงใหม่      รหัสไปรษณีย์ ๕๐๒๖๐
เบอร์โทร :  .     มือถือ :087-1774692 
อีเมล : wattamor@hotmail.com.
เว็บไซต์ : www.wattamor.com