ReadyPlanet.com
dot dot
dot
วัด ที่อยู่ และธรรมะของ ครูบาอาจารย์ต่างๆ
dot
bulletหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
bulletครูบาศรีวิชัย
bulletหลวงพ่อครูบาวงศ์
bulletวัดท่าซุง(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
bulletพุทธทาส ภิกฺขุ
bulletหลวงพ่อชา สุภัทโท
bulletหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
bulletหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
bulletพระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป
dot
พระบรมราโชวาท ร.๙
dot
bulletพระบรมราโชวาท
bulletส.ค.ส. พระราชทาน 2530-2555
dot
วัดพระพุทธบาทตะเมาะ
dot
bulletประวัติวัดพระพุทธบาทตะเมาะ
bulletประวัติพระมหานพดล สิริวฑฺฒโน
dot
ผลงานของมหานพดล สิริวฑฺฒโน
dot
bulletวาทะพระอริยเจ้า(หลวงปู่บุดดา ถาวโร)
bulletกลอนสดจากใจประจำวัน
bulletวาทะธรรมพระมหานพดล สิริวฑฺฒโน
bulletพระธรรมเทศนา พระมหานพดล สิริวฑฺฒโน
bulletแนวทางปฏิบัติธรรมโดยย่อ พระมหานพดล รวบรวม
dot
ธรรมที่น่าสนใจ
dot
bulletธรรมอันควรพิจารณา
bulletรวมวิธีการทำสมาธิของครูบาอาจารย์ต่างๆ
bulletโมกขุบายวิธี
bulletเคล็ดปฏิบัติสมาธิหลวงปู่เหรียญ
bulletประโยชน์ของการทำสมาธิ
bulletโมเนยปฏิปทา
dot
รายการแสวงบุญ
dot
bullet แสวงบุญประเทศอินเดีย เนปาล ๑๑ - ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
dot
กิจกรรมต่าง ๆ
dot
bulletพิธียกยอดฉัตร เจดีย์หิน 3 ครูบา 18 ม.ค. 56
bulletแสงบุญ หลวงพระบาง และสิบสองปันนา 19-25 พ.ค. 55
bulletรูปภาพแสวงบุญ
dot
เชิญร่วมทำบุญ
dot
dot
สมุนไพรและการดูแลสุขภาพ
dot
bulletโคลนสมุนไพร ดูดสารพิษ บรรเทาอาการปวด
bulletโทษของ สเตอร์ลอย
bulletอาหาร 10 อย่าง ที่ไม่ควรกินมากเกินไป
dot
โครงการช่วยชาติ ของ สถาบันธรรมะเพื่อชีวิต
dot
bulletฮิวมัสกับสวนลำไย


พระบรมราโชวาท
แนวทางปฏิบัติธรรม
แสวงบุญประเทศอินเดีย
เต่ามงคล


แนวทางปฏิบัติธรรมโดยย่อ พระมหานพดล รวบรวม

 

แนวทางปฏิบัติธรรมโดยย่อ
รวบรวมโดย
พระมหานพดล สิริวฑฺฒโณ
             องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงค้นพบหลักความจริงของธรรมชาติของจิต ตามที่อาตมาเข้าใจมี ๓ อย่างคือ
๑.       รรมชาติของจิตที่คิดดี ผลที่ได้รับคือ ความสุข   ตัวอย่างเช่น ถ้ามีคนติเตียนด่าว่าเราต่างๆนาๆ ถ้าเราคิดในทางที่ดีว่า เป็นกรรมของเราเคยไปด่าว่าเขาในอดีต ทำให้กรรมส่งผลเช่นนี้ เราจะอโหสิกรรมให้เขา เช่นนี้เราย่อมได้รับความสุขเพราะความคิดที่ดี
๒.     ธรรมชาติของจิตที่คิดไม่ดี ผลที่ได้รับคือ ความทุกข์ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีคนชมเราว่าเป็นคนดี ถ้าเผื่อเขาชมเราด้วยน้ำใสใจจริง เรากลับมองโลกในแง่ร้ายว่า เขาคงเสแสร้งแกล้งชมเราเพื่อหวังผลประโยชน์บางอย่างจากเรา เช่นนี้เราย่อมได้รับความทุกข์ในใจของเราเอง
๓.     ธรรมชาติของจิตที่ปล่อยวาง ผลที่ได้รับคือ   บรมสุข (ความสุขอย่างยิ่ง) ดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงตรัสกับเทวดาที่ทูลถามพระองค์ว่า ธรรมอันใดที่บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อหวังความพ้นทุกข์พึงพิจารณา พระองค์ทรงตรัสว่า สัพเพธัมมานาลัง อภินิเวสายะ แปลว่า ธรรมอันบุคคลไม่ควรยึดหมั่นถือมั่น เป็นธรรมที่ผู้หวังความพ้นทุกข์พึงพิจารณาอยู่เนื่องนิตย์
     การที่เราจะเข้าใจเช่นนี้ได้ พระพุทธองค์ทรงตรัสสั่งสอนให้ปฏิบัติในไครสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา   ไตรสิกขานี้เป็นสิ่งที่ชาวพุทธต้องศึกษาแล้วน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้ได้ผลคือมรรค ผล นิพพาน ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้
                ศีล ได้แก่ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๒๒๗ เป็นพื้นฐานที่ผู้ปฏิบัติต้องถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เพราะศีลเป็นรากฐานที่สำคัญ เช่นการสร้างบ้านถ้าสร้างโดยมีรากฐานที่ไม่มั่นคง สักวันหนึ่งบ้านนั้นต้องทรุดหรือพังอย่างแน่นอน ศีลทำให้เกิดความสุข ศีลทำให้เกิดโภคทรัพย์  ศีลทำให้ถึงซึ่งพระนิพพาน
                สมาธิ คือความตั้งใจมั่น ผลของการปฏิบัติสมาธิจะได้สมาธิ มี ๓ อย่างคือ ขณิกสมาธิ   อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ สามารถพิจารณาพระไตรลักษณ์จนได้ มรรค ผล นิพพาน สมาธินั้นต่างจากฌาน เพราะผลของฌานมีภวังค์เป็นที่สุดซึ่งไม่สามารถพิจารณาพระไตรลักษณ์ได้ แต่ทั้งสมาธิและฌานนั้นต่างมีอุปการะซึ่งกันและกัน
                ปัญญา เป็นการรู้เห็นธรรมตามความเป็นจริง เมื่อถึงพร้อมด้วยศีลและสมาธิ
แนวทางการปฏิบัติ
                เราต้องศึกษาและทำความเข้าใจว่าพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่ทนต่อการพิสูจน์ แม้กาลจะล่วงเลยมาสองพันกว่าปี แต่พระสัทธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอนไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยแม้แต่เพียงเล็กน้อย ยิ่งวิทยาการทางโลกเจริญรุ่งเรืองมากเพียงไร พระธรรมที่พระองค์ทรงค้นพบยิ่งเป็นจริงมากเพียงนั้น ต่อไปนี้จะขออธิบายแนวทางปฏิบัติโตยย่อดังนี้
                เราต้องเห็นความสำคัญของการรักษา ศีล การทำสมาธิ และการเจริญปัญญา เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้เราค้นพบความสุขที่แท้จริงได้ในตัวของเราเอง ดั่งที่อาตมาได้กล่าวในเบื้องต้นแล้วว่า ธรรมชาติของจิตที่ปล่อยวาง เป็นธรรมชาตินำมาซึ่งความสุขอย่างยิ่ง ดังนี้แล้วเราจะทำการปล่อยวางได้อย่างไร มิใช่ว่าเมื่อเราถือแก้วน้ำอยู่ในมือมีคนบอกให้เราปล่อยวาง ถ้าเราปล่อยไม่ถูกจะทำให้แก้วน้ำแตกเสียหายได้ การปฏิบัติธรรมก็เช่นกันต้องปล่อยวางให้ถูก ปล่อยวางด้วยการใช้ปัญญา จึงจะได้รับความสุขในเบื้องต้น ในท่ามกลางและในที่สุด
                เรื่องของศีลนั้นคงจะพอเข้าใจกันอยู่แล้ว ศีลเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดที่เป็นพื้นฐานในการกระทำให้ให้จิตมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป
                เรื่องของสมาธิเป็นสิ่งที่ต้องศึกษาและปฏิบัติ สมาธินั้นเป็นอาการของจิตที่เพ่งพินิจในกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง จนจิตรวมกันเป็นหนึ่งโดยมีพระไตรลักษณ์ควบคุมอยู่ตลอดเวลา มีสติระลึกรู้ว่า นี่สติ นี่สมาธิ สมาธิมี ๓ อย่างคือ
                ๑.ขณิกสมาธิ เป็นสมาธิชั่วขณะ สมาธิขั้นต้นโดยมีการรวมตัวอยู่ในจุดเดียว แต่รวมตัวเป็นครู่เป็นขณะ แล้วก็หายไปจนจับอะไรไม่ได้
                ๒. อุปจารสมาธิ  เป็นสมาธิจวนจะแน่วแน่, สมาธิที่ยังไม่ดิ่งถึงที่สุด เป็นขั้นทำให้กิเลสมีนิวรณ์เป็นต้นระงับ
                ๓. อัปปนาสมาธิ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี อธิบายไว้ว่า อาการของจิตถอนละออกจากอุปาทานแล้วเข้ารวมกำลัง สติ และปัญญา ให้มีกำลังสมบูรณ์เต็มที่ เกือบจะกล่าวได้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะนี้ แม้จะเป็นโลกอยู่ในโลกตามสมมุตินิยมก็ดี แต่ใจในขณะนั้นไม่มีโลกติดอยู่เลย จะเรียกโลกก็มิใช่ จะเรียกธรรมก็ไม่เชิง เพราะอัปปนาสมาธิไม่มีสมมุติในที่นั้น สิ่งที่สังเกตได้ง่ายก็คือ ขณะนั้นลมหายใจจะไม่มี ลมหายใจไม่ระบายเข้าออกได้เฉพาะแต่จมูกอย่างเดียว ย่อมระบายเข้าออกได้ทั่วไป แม้ชั้นขุมขนทุกขุมขนก็ระบายเข้าออกได้
                เรื่องของปัญญาที่จะละกิเลสตัณหาอุปาทานได้นั้น พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป ได้เมตตาสั่งสอนว่า การจะละกิเลสขั้นละเอียดได้นั้นจิตต้องเข้าถึงอัปปนาสมาธิ แล้วถอนจิตออกมาพิจารณาพระไตรลักษณ์ที่อุปจารสมาธิ เปรียบเหมือนหลัก ๓ อัน หลักที่ ๑ ได้แก่ขณิกสมาธิ หลักที่ ๒ ได้แก่ อุปจารสมาธิ หลักที่ ๓ ได้แก่อัปปนาสมาธิ         ผู้ปฏิบัติจะละกิเลสได้ถ้าปฏิบัติเข้าถึง
อัปปนาสมาธิได้ จิตจะมีกำลังที่จะถอนออกมาพิจารณาพระไตรลักษณ์(ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา )ที่หลักที่ ๒ คืออุปจารสมาธิ ทำให้มีสติแหลมคม สามารถละกิเลสให้เบาบางไปตามลำดับได้ สิ่งเหล่านี้จะรู้ได้โดยการลงมือปฏิบัติ เพราะเป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน สามารถเข้าใจได้ด้วยการเจริญภาวนาอย่างเดียวเท่านั้น
 
อานาปานสติกรรมฐาน
                การทำสมาธินั้นเป็นสมถกรรมฐานมีทั้งหมด ๔๐ วิธี สามารถศึกษาได้จากตำรามากมาย ในที่นี้จะขออธิบายแนวทางที่ได้แนะนำผู้ที่ฝึกปฏิบัติธรรมในเบื้องต้น เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติที่สูงขึ้นสืบไป
                การนั่งสมาธิ นั่งในท่าที่สบายหรือถนัดที่สุด อานาปานสติคือการกำหนดระลึกรู้ที่ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบริกรรมภาวนาใดๆทั้งสิ้น(สำหรับผู้ที่เคยบริกรรมภาวนามาแล้วจะทำอย่างที่ตนเองถนัดก็ได้) นั่งตัวตรงดำรงสติให้มั่นทำใจให้สบาย ระลึกรู้กายที่ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกตรงสามเหลี่ยมบริเวณริมฝีปากและปลายจมูก ดำรงสติเฉพาะหน้า ดั่งพระบาลีที่ว่า ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา แปลว่า ยังสติให้ตั้งไว้ที่บริเวณปาก มีสติคือความระลึกได้ และมีสัมปชัญญะคือความรู้ตัวทั่วพร้อม พิจารณาลมหายใจเข้าออกด้วยความเป็นกลาง เฝ้าดูเฝ้ารู้อยู่เฉยๆโดยไม่ต้องมีตัณหาคือความอยากที่จะได้นั่นได้นี่ หรือให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หายใจเข้าสั้นก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้นก็รู้อยู่ว่าหายใจออกสั้น หายใจเข้ายาวก็รู้อยู่ว่าหายใจเข้ายาว หายใจออกยาวก็รู้อยู่ว่าหายใจออกยาว ระลึกรู้ในอิริยาบถหรือความรู้สึกในร่างกายของเรา ระลึกรู้แล้วก็ปล่อยวาง ไม่ต้องไปปรุงแต่งใดๆทั้งสิ้น ธรรมะแปลว่าธรรมชาติ การที่จะเข้าใจธรรมะได้นั้น จิตของเราต้องเข้าสู่ความเป็นธรรมชาติที่ปราศจากการปรุงแต่ง จิตจะลุ่มลึกไปตามลำดับเหมือนทะเลที่ค่อยราบเรียบลึกลงไปเรื่อยๆ ไม่ดิ่งลงเหมือนหน้าผาหรือเหวลึก
                กิเลสเป็นสิ่งที่จมลึกอยู่ที่จิตไร้สำนึก เช่นเวลาเราหลับเมื่อมียุงมากัด จิตสำนึกอาจจะไม่รู้สึกตัว แต่จิตไร้สำนักจะรู้และคอยเอามือปัดเพื่อไล่ยุง หรือเวลาคันจิตไร้สำนึกก็จะเอามือไปเกาเพื่อให้หายคัน การที่จะชำระกิเลสออกจากใจได้นั้นจิตของเราต้องลงลึกถึงขั้นอัปปนาสมาธิแล้วถอนจิตออกมาพิจารณาที่อุปจารสมาธิ จึงสามารถละกิเลสขั้นละเอียดได้ เป็นปัญญาที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา ซึ่งเป็นปัญญาอันเกิดจากการภาวนาแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ( สุตมปยปัญญา คือปัญญาเกิดจากการฟัง จินตามยปัญญา คือปัญญาอันเกิดจากความคิด ไม่สามารถละกิเลสที่ละเอียดได้ จะได้ต้องอาศัยภาวนามยปัญญาแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น)
                การเดินจงกรม การเดินจงกรมนั้นเป็นการพักผ่อนอิริยาบถหลังจากได้นั่งสมาธิมาแล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น การเดินจงกรมนั้นเป็นการเดินที่กำกับด้วยสติและสัมปชัญญะ กำหนดระลึกรู้ที่กายขณะเดินอาจจะกำหนดรู้ที่ปลายจมูก หรือบริเวณหน้าอก  ท้องหรือที่เท้าก็ได้ แล้วแต่ใครถนัดว่าจะกำหนดเช่นไรดูอารมณ์สบายเป็นสิ่งสำคัญ (โดยส่วนตัวถนัดที่ลิ้นปี่) ไม่ต้องบริกรรมภาวนาใดๆทั้งสิ้น หรือผู้ที่เคยบริกรรมภาวนาจะภาวนาตามที่ตนถนัดก็ได้ เมื่อจิตละเอียดมากเข้าคำบริกรรมภาวนาจะหายไป ถึงจุดนั้นแล้วให้มีสติตามระลึกรู้แต่เพียงอย่างเดียว ถ้าอารมณ์ความเครียดหรือความไม่สบายใจเกิดขึ้น แสดงว่ายังวางอารมณ์ไม่ถูก ให้ดูความเครียดหรือความไม่สบายนั้น แล้วก็ปล่อยวางไม่ต้องไปอยากให้มันหายไป ดูเฉยๆดูไปเรื่อยๆ เหมือนกับเราดูละคร ถ้าเป็นผู้ดูจิตจะไม่เครียดแต่ถ้าเราเผลอสติไปเป็นผู้เล่นเสียเอง จะเกิดความเครียดขึ้นมาในจิตของเรา   เมื่อมีสติรู้ให้ละ ปล่อย วาง ไปเรื่อยๆ อารมณ์จะค่อยๆเบาบางไปตามลำดับ
                พระพุทธองค์ทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า “อานนท์ เธอจงปฏิบัติให้มากทำให้มาก แล้วเธอจะสิ้นสงสัยในคำสั่งสอนของเราตถาคต ” ดังนั้นการที่จะเข้าใจพระสัทธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ต้องลงมือปฏิบัติเดี๋ยวนี้และเวลานี้อย่างเดียวเท่านั้น จึงจะได้รับผลตามที่พระองค์ทรงสั่งสอน ดั่งที่ครูบาอาจารย์ท่านได้กล่าวไว้ว่า การปฏิบัติธรรมนั้นถ้าทำถูกวิธี   วันเดียวก็สามารถได้รับผลของการปฏิบัติ   แต่ถ้าปฏิบัติไม่ถูกจะปฏิบัติสักร้อยปีก็ไม่ได้ผลของการปฏิบัติอย่างแน่นอน เหมือนคุณครูที่สอนนักเรียนให้เขียนอ่านหนังสือ ว่า นี่ ก ไก่ นี่ ข ไข ให้นักเรียนเขียนตาม เมื่อนักเรียนเขียนอ่านไปเรื่อยๆ ก็จะค่อยๆมีความรู้ขึ้นมาเป็นลำดับ ถ้านักเรียนมัวแต่สงสัยว่า เขียน ก ไก่ ข ไข่ ไปทำไมแล้วจะได้อะไรจากการเขียน ถ้าเขามัวแต่สงสัยแล้วไม่ลงมือปฏิบัติความรู้ย่อมไม่บังเกิดขึ้นได้เลย เช่นเดียวกับผู้ปฏิบัติมักลังเลสงสัยไปต่างๆนาๆ จะให้ความสงสัยหมดสิ้นไปด้วยความคิดแต่ถ้าไม่ลงมือปฏิบัติ จะไม่สามารถกำจัดความสงสัยนั้นๆได้เลย คำเปรียบเทียบที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้นเอง ที่จริงแล้วมีความลุ่มลึกกว่านี้อีกมาก
                สภาวะจิตที่สงบมีสติอยู่กับปัจจุบัน ย่อมสามารถรู้เห็นธรรมตามความเป็นจริงได้ อารมณ์จิตที่สงบและปล่อยวางเป็นบรมสุขคือเป็นสุขอย่างยิ่ง เมื่อจิตที่สงบไปจับต่ออารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ตาม ความทุกข์จะเกิดขึ้นมาในจิตของผู้นั้น เมื่อปล่อยก็สุข เมื่อจับก็ทุกข์ เมื่อความจริงแจ้งประจักษ์เช่นนี้จึงจะเชื่อพระสัทธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ เป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตนไม่สามารถทำให้กันได้ ดั่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า เราตถาคตเป็นเพียงผู้บอกเท่านั้น ส่วนความเข้าใจต้องเป็นหน้าที่ของเธอที่จะไปปฏิบัติให้รู้เองเห็นเอง
                พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ผู้มีสติอยู่กับปัจจุบันความทุกข์ทั้งหลายจะไม่เข้ามาในใจของเราเลย จิตเป็นพลังงานอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในร่างกายของเรา ถ้ามีสติอยู่กับปัจจุบันพลังงานจะไม่สูญเสียไปไหน ผลที่ได้รับคือจิตจะมีความสุข ความทุกข์จะไม่เข้ามาในใจของเรา แต่ถ้าเราไปคิดถึงเรื่องอดีตที่ผ่านมาแล้ว หรือคิดถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึงด้วยความอาลัย จะทำให้เราสูญเสียพลังงานในตัวของเรา เมื่อพลังงานสูญเสียไปจะได้รับผลคือความทุกข์ เพราะความจริงตัวเราต้องอยู่กับปัจจุบัน เราไม่สามารถจะอยู่กับอดีตหรืออนาคตได้เลย
                นี่เป็นการปฏิบัติขั้นพื้นฐาน ส่วนความรู้ที่ละเอียดและลึกซึ้ง ต้องศึกษา ปฏิบัติและสอบถามจากครูบาอาจารย์ผู้รู้สืบไป
                






Copyright © 2010 All Rights Reserved.

วัดพระพุทธบาทตะเมาะ
ที่อยู่ :  เลขที่ ..๑๔๙ หมู่ ๙ ตำบล โปงทุ่ง   อำเภอ ดอยเต่า
จังหวัด :เชียงใหม่      รหัสไปรษณีย์ ๕๐๒๖๐
เบอร์โทร :  .     มือถือ :087-1774692 
อีเมล : wattamor@hotmail.com.
เว็บไซต์ : www.wattamor.com